วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

การเพาะเลี้ยงกบ บทที่ 5

บทที่ 5
สรุป อภิปรายและข้อเสนอนะ
การใช้หนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ จำนวน 5 เล่ม จากสาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว(งานเกษตร) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหัวนา ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่นี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพผลการใช้หนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหัวนา อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และ 3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วย การใช้หนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหัวนา ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง สำนักงานเขตพื้นที่ศึกษาเชียงใหม่เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) การเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงจากหนังสืออ่านประกอบ เรื่อง การเลี้ยงกบ จำนวน 5 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้และคู่มือครูที่ใช้ควบคู่กับชุดการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงจากหนังสืออ่านประกอบ เรื่อง การเลี้ยงกบ จำนวน 5 เล่ม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนละหลังเรียน จำนวน 40 ข้อ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงจากหนังสืออ่านประกอบ เรื่อง การเลี้ยงกบ จำนวน 1 ฉบับ เครื่องมือทั้งหมดได้ผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญ และได้ปรับปรุงแก้ไขแล้วเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลจริงจากกลุ่มเป้าหมาย ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที่ (t-test)
สรุปผลการศึกษา
ผู้รายงานได้ดำเนินการศึกษาอย่างเป็นขั้นตอน โดยทำการทดสอบก่อนเรียนและดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ คู่มือครู ประกอบด้วยหนังสืออ่านประกอบ เรื่อง การเลี้ยงกบ จำนวน 5 เล่ม ได้ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน และตอบแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่านประกอบ เรื่อง การเลี้ยงกบ จำนวน 5 เล่ม ผลการสร้างและใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงจากหนังสืออ่านประกอบ เรื่อง การเลี้ยงกบ มีดังนี้
1. การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริงสาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว(การเกษตร) กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี มีประสิทธิภาพ (E1 / E2) เท่ากับ 76.49 / 72.94 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ที่ 70 / 70
2. คะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว(การเกษตร) กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหัวนา ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 39 คน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
3. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว(การเกษตร) กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหัวนา ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 39 คน ในภาพะรวมอยู่ในระดับ เห็นด้วยมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.90 โดยเฉพาะด้านสื่อการสอน ข้อที่ 8-10

อภิปรายผลการศึกษา
ผลจากการสร้างและใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว(การเกษตร) กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหัวนา ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่ศึกษาเชียงใหม่เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ซึ่งเป็นการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนของผู้รายงาน และจากผลสัมฤทธิ์ของการจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว(การเกษตร) กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ทั้ง 5 เล่ม พบว่า
การจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ ทั้ง 5 เล่ม มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
การจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ ทั้ง 5 เล่ม มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ อาจเป็นผลเนื่องจากสาเหตุ ดังนี้
1. การจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว(การเกษตร) กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหัวนา ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ได้สร้างขึ้นอย่างเป็นระบบตามหลักการสร้างนวัตกรรมที่เป็นหนังสืออ่านประกอบ โดยเริ่มจากการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์หลักสูตร ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง จุดประสงค์การเรียนรู้ และแบ่งเนื้อหาที่จะเรียนแต่ละเล่มได้อย่างเหมาะสมกิจกรรมภาคปฏิบัติจริงแต่ละกิจกรรมมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับการเรียนรู้ที่คาดหวังและจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ และการดำเนินการจัดการเรียนรู้ได้ใช้สื่อที่หลากหลายชนิดทั้งสื่อจำลองและสื่อที่เป็นของจริงที่แสดงให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ เช่น สื่อของจริง ได้แก่ กบ ยารักษาโรค อาหารกบ รวมทั้งสื่อจากคอมพิวเตอร์ สื่อจากอินเตอร์เน็ต การลงมือปฏิบัติจริงด้วยปราสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ โดยมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้
2. การจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว(การเกษตร) กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี แต่ละเล่ม จะยึดนักเรียนเป็นสำคัญ มีกระบวนการเรียนแบบกลุ่ม และนักเรียนปฏิบัติงานด้วยตนเอง รวมทั้งเพื่อนช่วยเพื่อน ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามความสามารถของตนเอง ในขณะเดียวกัน นักเรียนสามารถปรึกษาหารือกันในกลุ่มที่เรียนด้วยกัน ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันระหว่างเรียนและระหว่างปฏิบัติกิจกรรม และนักเรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเองตามศักยภาพของตนเอง เพราะเป็นหนังสือที่สามารถใช้เรียนเป็นรายบุคคลได้ และครูผู้จัดการเรียนรู้จะทำหน้าที่เป็นเพียงครูพี่เลี้ยงที่จะให้ข้อเสนอแนะในบางครั้งที่นักเรียนมีปัญหาเท่านั้น นอกนั้น นักเรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติจริงทั้งสิ้น
3. การจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว(การเกษตร) กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี จะเน้นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ กล่าวคือ หลังจากเรียนรู้หลักการทางทฤษฎี ทั้งเนื้อหาและวิธีการ โดยดูผลงานที่มีคนทำสำเร็จมาแล้วจากอินเตอร์เน็ตบ้าง จากการอ่านการเขียนรายงานบ้าง แล้วทำให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงได้ โดยมีหนังสืออ่านประกอบเป็นคู่มือ มีขั้นตอนการลงมือปฏิบัติที่ชัดเจน นอกจากจะได้ฟังการอธิบายและดูการสาธิตจากครู ควบคู่กับการปฏิบัติงานจริงซึ่งเป็นลักษณะการเรียนที่นักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเดี่ยวหรือกิจกรรมกลุ่ม
สอดคล้องกับจิตวิทยาการเรียนรู้ จิตวิทยาการพัฒนาการของพรรณี ชูทัย เจนจิต(2546) ที่ว่า จิตวิทยาการเรียนรู้นั้น จะช่วยให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายโดยอาศัยการกระตุ้น การโต้ตอบ การใช้กระบวนการกลุ่ม การสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นในเด็กวัยเดียวกัน(6-12 ปี) มีการพัฒนาการในการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนทั้งที่เป็นเพศเดียวกันและเพื่อนต่างเพศ โดยเริ่มที่จะเติบโตเป็นพลเมืองดี โดยหาทักษะในการใช้ภาษา การสื่อความหมาย การหาความรู้ ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ รู้จักพัฒนาตนเองให้มีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและสังคม การจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนในวัยนี้ได้ทำงานร่วมกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา และการคิกหาเหตุผลซึงจะส่งผลให้ผู้เรียนสามารถบรรลุเป้าหมายในการเรียนได้ และยังสอดคล้องกับทิศนา แขมมณี(2550) ได้สรุปทฤษฎีการเรียนรู้และหลักการจัดการศึกษา / การสอนของ กาเย่ 9 ขั้นว่า ระบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้นั้น จะต้องมีการนำเข้าสู่บทเรียน การแจ้งจุดประสงค์ การกระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิม(พื้นความรู้) ที่จำเป็น การเสนอบทเรียนใหม่ การใช้แนวทางการเรียนรู้ การลงมือปฏิบัติ การใช้ข้อมูลย้อนกลับ การประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ การส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้ จะช่วยให้การจัดการเรียนการสอนของครูให้ประสบผงสำเร็จ สามารถทำให้นักเรียนสามารถบรรลุถึงเป้าหมายได้
สอดคล้องกับทวีสิทธิ จำปาเทศ ได้พัฒนาหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นเรื่อง การเลี้ยงกบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านจรวยอำเภอลำดวน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 ที่พัฒนาหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นหลักสูตร ที่สถานศึกษา ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ร่วมกันพัฒนาขึ้นเพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้นำไปใช้ในชีวิตจริง สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและชุมชน การจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องจัดเนื้อหาสาระ และกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน มีการฝึกปฏิบัติจากประสบการณ์จริง เน้นทักษะกระบวนการทำงานให้คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น โดยมีการบูรณาการสาระความรู้ด้านต่าง ๆ ให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ทักษะกระบวนการ และคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ การศึกษาค้นคว้าในครั้งจึงนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) เรื่อง การเลี้ยงกบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (2) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) เรื่อง การเลี้ยงกบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 / 80 (3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) เรื่อง การเลี้ยงกบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (4) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน จากการใช้แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี(งานเกษตร) เรื่อง การเลี้ยงกบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า “1. หลักสูตรที่พัฒนาขึ้น ด้านจุดมุ่งหมายของหลักสูตร โครงสร้างและเนื้อหา โครงสร้างเวลาเรียน กระบวนการจัดการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ และการวัดผลประเมินผล มีความ เหมาะสมอยูในระดับมาก 2. แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร)มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.73 / 82.25 และมีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.8230 และ 3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี(งานเกษตร) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


ผลสัมฤทธิ์หลังการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้จากหนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ
เมื่อเปรียบเทียบหลังเรียนและก่อนเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้จากหนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ แต่ละเล่ม พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนทุกเล่ม ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะ การเรียนรู้แต่ละเล่มมีการแบ่งเนื้อหาที่พอเหมาะ ไม่มากและน้อยเกินไป และเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน นัดเรียนสามารถเรียนรู้ไปทีละเล่ม แบบไม่รู้จักเบื่อ มีการเรียนรู้ไปตามขั้นตอนที่ครูกำหนดไว้ชัดเจน หนังสือแต่ละเล่มเป็นลักษณะของการซึมซับความรู้ไปทีละน้อยอย่างต่อเนื่อง นักเรียนจะรับรู้สิ่งใหม่ ๆ และได้ประโยชน์โดยตรง ทำให้นักเรียนเกิดทักษะและความคิดรวบยอดในเรื่องที่ได้เรียนอย่างถาวรโดยไม่รู้ตัว ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ เพียรจิต พันธุ์โอภาส (2541 : บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาสร้างแผนการสอนที่มีประสิทธิภาพ กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต เรื่อง น้ำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผลการศึกษาพบว่าแผนการสอนมีประสิทธิภาพ 83.23 /86.21 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยการใช้หนังสืออ่านประกอบ เรื่อง การเลี้ยงกบ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว (งานเกษตร) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยภาพรวมอยู่ในระดับ เห็นด้วยมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.90 โดยเฉพาะด้านสื่อการสอน ได้แก่ นักเรียนชอบวิธีการเรียนรู้ด้วยแบบลงมือปฏิบัติจริง นักเรียนมีความสุขกับการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านประกอบแบบลงมือปฏิบัติจริง และนักเรียนต้องการเรียนรู้ด้วยแบบลงมือปฏิบัติจริงกับวิชาอื่น นักเรียนมีความคิดเห็นด้วยมากที่สุดทุกข้อนั้น เป็นผลการศึกษาที่บรรลุผลตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ทั้งนี้อาจเป็นผลเนื่องมาจากสาเหตุ ดังนี้
1. มีการใช้สื่อที่เป็นของจริงที่นักเรียนสามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ง่าย ทำให้นักเรียนมีความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนรู้ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว(งานเกษตร) เพราะเมื่อลงมือปฏิบัติจริงจะพบว่า เป็นการลงมือทำจริง กับสื่อที่เป็นของจริง เมื่อลงมือปฏิบัติเสร็จแล้วสามารถเห็นความสำเร็จในแต่ละขั้นตอนทันที และสามารถรอคอยผลสำเร็จในขั้นต่อไปด้วย เพราะครูคอยชี้แนะข้อบกพร่องต่าง ๆ และชมเชยเมื่อทุกคนปฏิบัติได้ถูกต้องซึ่งเป็นการเสริมแรงให้นักเรียนมีความต้องการที่จะเรียนมากยิ่งขึ้น เป็นการกระตุ้นและท้าทายความสามารถของนักเรียน ทำให้นักเรียนเกิดความเชื่อมั่นในตัวเองและเพื่อนร่วมกิจกรรม รวมทั้ง มีความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนรู้กลุ่มสาระงานอาชีพและเทคโนโลยี
2. หนังสืออ่านประกอบมีการจัดการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลายวิธี และมีสื่อประกอบอย่างหลากหลายชนิดด้วย เพียงครูชี้แนะหลักการและวิธีการเท่านั้น นักเรียนสามารถลงมือปฏิบัติจริงได้อย่างสนุกสนาน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ท้าทายความสามารถของเด็กนักเรียน ทำให้บรรยากาศของการเรียนเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอโดยเห็นพัฒนาการเจริญเติบโตของกบเป็นแรงกระตุ้น ทำให้นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจกับผลงานของตนเอง
สอดคล้องกับงานวิจัยของนางสันทยา พูลสำราญ ได้ทำวิจัยเรื่อง “การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การเลี้ยงกบขวด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2551” จากการศึกษาพบว่า 1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง “การเลี้ยงกบขวด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร)” มีประสิทธิภาพ 82.48/86.33 ซึ่งเป็นค่าประสิทธิภาพที่สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องการเลี้ยงกบขวด กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องการเลี้ยงกบขวด กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) โดยรวมและเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 2551
ข้อเสนอแนะ
จากการศึกษาการสร้างและการใช้หนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว(การเกษตร) กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหัวนา ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่ศึกษาเชียงใหม่เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ได้พบจุดเด่นและจุดที่ควรศึกษาเพิ่มเติมบางประการ และผู้รายงานจะนำเสนอเพิ่มเติมเพื่อเป็นประโยชน์ในการนำหนังสืออ่านประกอบไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและเพิ่มผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้นในครั้งต่อไป ดังนี้
1. ควรทำวิจัยเกี่ยวกับการสอนแบบนักเรียนเป็นศูนย์กลางให้มากขึ้น เช่น การสอนแบบประสาทสัมผัส การสอนแบบวิทยาศาสตร์ การสอนแบบการสืบค้น เป็นต้น
2. ควรทำวิจัย เกี่ยวกับสื่อที่เป็นของจริงและสามารถหาได้ในท้องถิ่นมาช่วยสอน เช่น การเลี้ยงกบคอนโด การเลี้ยงจิ้งหรีด เป็นต้น
3. ควรวิจัยการรักษาน้ำเพื่อการเกษตร เช่น ฝายน้ำน้อย ๆ บ่อน้ำหมุนเวียน หรือ วิธีการเก็บน้ำฝนไว้ใช้ในหน้าแล้ง เป็นต้น

การเพาะเลี้ยงกบ บทที่ 4

บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การใช้หนังสืออ่านประกอบชุด การเลี้ยงกบ เล่ม 1-5 จากสาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว (งานเกษตร) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี(งานเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหัวนา ตำบลม่อนปิน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่นี้ ผู้รายงานได้ดำเนินการศึกษาอย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยแบ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูลเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 ผลการหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านประกอบการจัดการเรียนรู้แบบการลงมือปฏิบัติจริง(Learning by doing)
ตอนที่ 2 เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว (งานเกษตร) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยหนังสืออ่านประกอบชุด การเลี้ยงกบ เล่ม 1-5
ตอนที่ 3 ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยการลงมือปฏิบัติจริงจากหนังสืออ่านประกอบชุด การเลี้ยงกบ เล่ม 1-5








...
ตอนที่ 1 ผลการหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านประกอบ เรื่อง การเลี้ยงกบ
การหาประสิทธิภาพของชุดการจัดการการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงกลับกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนบ้านหัวนา จำนวน 39 คน โดยใช้เกณฑ์มาตรฐาน 70/70 ปรากฏผลดังตาราง 9
ตาราง 9 ประสิทธิภาพของหนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว (งานเกษตร) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
หนังสืออ่านประกอบชุดการเลี้ยงกบ
เรื่อง
ประสิทธิภาพของหนังสืออ่านประกอบชุด การเลี้ยงกบ E1/E2
1
ชีวิตของกบน้อย
78.36/70.57
2
กบน้อยเลือกคู่
71.89/71.09
3
ครอบครัวสุขสันต์
78.35/74.67
4
กบน้อยไม่สบาย
77.28/73.38
5
ไปเที่ยวตลาดกันนะ
76.61/75.00

ค่าเฉลี่ย E1/E2
76.49/72.94

จากตาราง 9 พบว่า ประสิทธิภาพของหนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์ มีประสิทธิภาพสูงกว่า เกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 70/70 และค่าเฉลี่ยของหนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์ ทั้ง 5 เล่ม มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 76.49/72.94






ตอนที่ 2 เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว (งานเกษตร) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยหนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 39 คน

ตาราง 10 การเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการใช้หนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ

ก่อนเรียน
หลังเรียน
ค่าความก้าวหน้าทางการเรียน
คะแนนเต็ม
 %
S.D.
คะแนนเต็ม
 %
S.D.
40


40


t =

* มีนัยสำคัญที่ระดับ .01
จากตาราง 10 พบว่า คะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการใช้หนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 39 คน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


ตอนที่ 3 ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วย การใช้หนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ
ในการสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยการใช้หนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นหลังจากเสร็จสิ้นการเรียนด้วยการใช้หนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว (งานเกษตร) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ได้ผลการตอบแบบสอบถาม ดังตาราง 11 ดังนี้
ตาราง 11 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยการใช้หนังสืออ่านประกอบ(Learning by doing) เรื่อง การเลี้ยงกบ สาระที่ 1
การดำรงชีวิตและครอบครัว (งานเกษตร) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี


จากตารางที่ 11 พบว่า ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยการใช้หนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว (งานเกษตร) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยภาพรวมอยู่ในระดับ เห็นด้วยมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.90เมื่อพิจารณารายข้อพบว้า ด้านสื่อการสอน ได้แก่ นักเรียนชอบวิธีการเรียนรู้ด้วยแบบลงมือปฏิบัติจริง นักเรียนมีความสุขกับการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านประกอบแบบลงมือปฏิบัติจริง และนักเรียนต้องการเรียนรู้ด้วยแบบลงมือปฏิบัติจริงกับวิชาอื่น นักเรียนมีความคิดเห็นด้วยมากที่สุดทุกข้อ

การเพาะเลี้ยงกบ บทที่ 3

บทที่ 3
วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า

จากการศึกษาการใช้หนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว (งานเกษตร) กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผู้รายงานได้ดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1. กลุ่มเป้าหมาย
2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
3. การสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
5. การวิเคราะห์ข้อมูล
6. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

1. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นประถมปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหัวนา ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษาที่ 2552 จำนวนนักเรียน 39 คน

2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
1. เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ได้แก่
1.1 หนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 5 เล่ม ดังนี้
เล่ม 1 เรื่อง ชีวิตของกบน้อย
แผนที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกบและพันธุ์กบที่จะนำมาเลี้ยง
แผนที่ 2 การเลือกสถานที่และสร้างคอกหรือบ่อเลี้ยงกบ

เล่ม 2 เรื่อง กบน้อยเลือกคู่
แผนที่ 3 การคัดพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์กบนาและการผสมพันธุ์กบ
แผนที่ 4 การอนุบาลและเปลี่ยนถ่ายน้ำลูกกบ
แผนที่ 5 อาหารและชนิดของอาหาร
เล่ม 3 เรื่อง ครอบครัวสุขสันต์
แผนที่ 6 การเลี้ยงกบในบ่อดิน ในคอก ในกระชัง
แผนที่ 7 อยู่ดี กินดี การเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์

เล่ม 4 เรื่อง กบน้อยไม่สบาย
แผนที่ 8 การป้องกันดูแลรักษากบ
แผนที่ 9 โรคที่เกิดจากการเลี้ยงกบ

เล่ม 5 เรื่อง ไปเที่ยวตลาดกันนะ
แผนที่ 10 การจับกบเพื่อจำหน่าย

1.2 แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี เทคโนโลยี สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 10 แผน โดยจัดเรียงลำดับเรื่องที่ 1-5
1.3 คู่มือการใช้หนังสืออ่านประกอบ เรื่อง การเลี้ยงกบ กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (งานเกษตร) จำนวน 10 แผน จำนวน 5 เล่ม
เล่ม 1 เรื่อง ชีวิตของกบน้อย
เล่ม 2 เรื่อง กบน้อยเลือกคู่
เล่ม 3 เรื่อง ครอบครัวสุขสันต์
เล่ม 4 เรื่อง กบน้อยไม่สบาย
เล่ม 5 เรื่อง ไปเที่ยวตลาดกันนะ
2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
2.1 แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เป็นแบบเลือกตอบ(Multiple choice) ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 1 ชุด ชุดละ 40 ข้อ
2.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน สาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 5 ชุด ชุดละ 10 คะแนน ลักษณะของแบบทดสอบคือ แบบทดสอบ
2.2.1 ใบงานที่ 1 อ่านเนื้อเรืองและสรุปเนื้อเรื่อง+ ใบงานที่ 2 แผนผังความคิด เป็นการทดสอบด้านความรู้ 20 คะแนน
2.2.2 การทำงานกลุ่มหรือแบบประเมินพฤติกรรมและแผนผังความคิด (ด้านพฤติกรรม 20 คะแนน)
2.2.3 แบบประเมินคุณธรรมที่พึงประสงค์ (ด้านคุณธรรม 10 คะแนน)
รวมทั้งสิ้น 50 คะแนน
2.3 แบบสอบถามความคิดเห็น ของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียน โดยใช้หนังสืออ่านประกอบ เรื่อง การเลี้ยงกบ จำนวน 10 ข้อ แบบสอบถามใช้มาตราประเมินค่า 5 ระดับตามแบบของ Likert Scale คือ เห็นด้วยมากที่สุด เห็นด้วยมาก เห็นด้วยปานกลาง เห็นด้วยน้อย และเห็นด้วยน้อยที่สุด

3. ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ
1. การสร้างหนังสือการจัดการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริง (Learning by doing)
การสร้างหนังสือการจัดการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวนทั้ง 5 เล่ม( 5 ชุด) ผู้ศึกษาได้ดำเนินการสร้างตามขั้นตอน ดังนี้
1.1 ศึกษารายละเอียดและขั้นตอนการสร้างหนังสืออ่านประกอบ เรื่อง การเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์ จากเอกสารและงานวิจัยต่าง ๆ
1.2 ศึกษาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้หนังสืออ่านประกอบ เรื่อง การเลี้ยงกบ ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมปีที่ 4 และเอกสารคู่มือครู
1.3 พิจารณาเนื้อหาว่า มีเนื้อหาใดมีความเหมาะสมกับหลักการจัดการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริง กำหนดหน่วยการจัดการเรียนรู้ โดยแบ่งสาระการเรียนรู้ออกเป็นหน่วยการจัดการเรียนรู้ 1.4 กำหนดหน่วยการจัดการเรียนรู้ออกเป็น 10 หน่วยการเรียนรู้ โดยเรียงลำดับเรื่องย่อยทั้งหมด .....(เดิม 35 เรื่อง ..ปรับแผนและตัดท้ายเล่ม 5 จึงเหลือ กี่เรื่อง..)

การเพาะเลี้ยงกบ บทที่ 2

บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้รายงานได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบในบ่ซีเมนต์ สาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี(งานเกษตร) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ซึ่งจะนำเสนอตามลำดับ ดังต่อไปนี้

2.1 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 กลุ่มสาระการงานอาชีพ และเทคโนโลยี
1.1 วิสัยทัศน์
1.2 คุณภาพนักเรียน
1.3 สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
1.4 มาตรฐานการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
1.5 การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น สาระการเรียนรู้ช่วงชั้น ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี
1.6 แนวทางการจัดการเรียนรู้
2.2 จิตวิทยาการเรียนรู้ จิตวิทยาการศึกษา จิตวิทยาการพัฒนาการ
2.3 หนังสือการจัดการเรียนรู้แบบโครงการ(Project Method)
3.1 ความหมายของหนังสืออ่านประกอบ
3.1 ประเภทของหนังสืออ่านประกอบ
3.3 หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
3.4 แนวคิดพื้นฐานที่นำไปสู่การสร้างหนังสืออ่านประกอบการเรียนรู้
3.5 ระบบการผลิตหนังสืออ่านประกอบของ....แผนจุฬา..
3.6 ส่วนประกอบของหนังสืออ่านประกอบ
3.7 ขั้นตอนการสร้างหนังสือการอ่านประกอบ
3.8 การเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง(ประสาทสัมผัส) การเรียนรู้แบบบูรณาการ
3.9 การจัดการการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง(ประสาทสัมผัส) การเรียนรู้แบบบูรณาการ
3.10 ข้อดีของการจัดการการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง(ประสาทสัมผัส) การเรียนรู้แบบบูรณาการ
3.11 ลักษณะและคุณค่าของหนังสืออ่านประกอบ
3.12 การหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านประกอบ
3.13 ขั้นตอนการทดสอบหาประสิทธิภาพ
2.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.1 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี
วิสัยทัศน์การเรียนรู้กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี

วิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์ของกลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี เป็นสาระที่เน้นกระบวนการทำงานและการจัดการอย่างเป็นระบบ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะการออกแบบงานและการทำงานอย่างมีลกยุทธ์ โดยใช้วิทยากรในชุมชน และท้องถิ่นที่มีภูมิความรู้ในด้านอาชีพหลักและอาชีพเสริม รวมทั้งการสร้าง และ พัฒนาผลิตภัณฑ์หรือวิธีการใหม่ เน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและพลังงานอย่างประหยัดและคุ้มค่าเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าว กลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี จึงกำหนดวิสัยทัศน์การเรียนรู้ที่ยึดงานและการแก้ปัญหาเป็นสำคัญบนพื้นฐานของการใช้หลักการและทฤษฎีเป็นองค์ความรู้หลัก ในหารกำกับการทำงานและการแก้ปัญหา งานที่นำมาฝึกฝนเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ของกลุ่มนั้น เป็นงานเพื่อการดำรงชีวิตในครอบครัวและสังคม และงานเพื่อการประกอบอาชีพ ซึ่งงานทั้ง 2 ประเภทนี้ เมื่อผู้เรียนได้รับการฝึกฝนตามกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยีแล้ว ก็จะเป็นการปลูกฝังและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพและศีลธรรม การเรียนรู้จากการทำงานและการแก้ปัญหาของกลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี จึงเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการบูรณาการ องค์ความรู้ ทักษะ และองค์ความดีที่หลอมรวม จนก่อเกิดเป็นคุณลักษณะของผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนด โรงเรียนบ้านหัวนา มุ่งพัฒนาให้ความรู้แก่นักเรียนสามารถเกิดทักษะในการสร้างงานอาชีพก่อให้เกิดรายได้ช่วยเหลือครอบครัว เพื่อสร้างความพร้อมก้าวสู่โลกแห่งเทคโนโลยีการเรียนรู้อย่างมั่นใจ

คุณภาพของผู้เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
กลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี มุ่งพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวมเพื่อให้เป็นคนดี มีความรู้ ความสามารถ โดยมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ดังนี้
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำรงชีวิตและครอบครัว การอาชีพ การออกแบบและเทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีเพื่อการทำงานและอาชีพ
มีทักษะในการทำงาน การประกอบอาชีพ การจัดการ การแสวงหาความรู้เลือกใช้เทคโนโลยีทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างคุ้มค่า และ สามารถทำงานอย่างมีกลยุทธ์สร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือวิธีการใหม่
มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน รักการทำงาน ประหยัด อดออม ตรงต่อเวลา เอื้อเฟื้อ เสียสละ และมีวินัยในการทำงาน เห็นคุณค่าความสำคัญของงานและอาชีพสุจริต ตระหนักถึงความสำคัญของสารสนเทศ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และพลังงาน

ในการจัดการศึกษาตามหลักสูตรท้องถิ่นนี้ จะต้องมุ่งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะดังนี้
1. มีความภูมิใจในความเป็นไทย สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เต็มใจ ช่วยเหลือผู้อื่นตาม ความสามารถของตน
2. มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถสร้างและปรับปรุงแนวทางปฏิบัติที่จะทำให้เกิดความเจริญแก่ตนเอง และชุมชน
3. มีทัศนะที่ดีต่อสัมมาชีพทุกชนิด มีนิสัยรักการทำงานและมีความสามารถในการเลือกอาชีพที่เหมาะสม กับความถนัดและความสนใจของตนเอง
4. มีทักษะพื้นฐานในการประกอบสัมมาชีพ มีความสามารถในการจัดการ และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
5. เข้าใจสภาพและการเปลี่ยนแปลงของสังคมในชุมชน สามารถเสนอแนวทางพัฒนาชุมชน ภูมิใจในการปฏิบัติตนตามบทบาทและหน้าที่ในฐานะสมาชิกที่ดี

สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่เป็นแก่นความรู้ของกลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี นี้ ประกอบด้วย 5 สาระหลัก ดังนี้
สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว
สาระที่ 2 การอาชีพ
สาระที่ 3 การออกแบบและเทคโนโลยี
สาระที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ
สาระที่ 5 เทคโนโลยีเพื่อการทำงานและอาชีพ

มาตรฐานการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
มาตรฐานการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน ของกลุ่มกลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี ผู้สอนได้นำเสนอโดยรวม แล้งจึงนำสู่งานเกษตร ตอนการเลี้ยงสัตว์ ดังนี้
สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว ระดับชั้น ป.4
มาตรฐาน 1.1 เข้าใจ มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะ มีคุณธรรม มีจิตสำนึกในการใช้พลังงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน เพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัวที่เกี่ยวข้องกับ งานบ้าน งานเกษตร งานประดิษฐ์ งานช่าง และงานธุรกิจ
มาตรฐาน 1.2 มีทักษะกระบวนการทำงาน การจัดการ การทำงานเป็นกลุ่ม การแสดงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาในการทำงาน รักการทำงานและมีเจตคติที่ดีต่องาน

สาระที่ 2 การอาชีพ ระดับขั้น ป.4
มาตรฐาน 2.1 เข้าใจ มีทักษะ มีประสบการณ์ในงานอาชีพสุจริต มีคุณธรรม มีเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ และเห็นแนวทางในการประกอบอาชีพสุจริต

สาระที่ 3 การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น ป.4
มาตรฐาน 3.1 เข้าใจธรรมชาติและกระบวนการเทคโนโลยี ใช้ความรู้ ภูมิปัญญา จินตนาการและวามคิดอย่างมีระบบในการออกแบบ สร้างสิ่งของ เครื่องใช้ วิธีการเชิงกลยุทธ์ ตามกระบวนการเทคโนโลยี สามารถตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม โลกของงานและอาชีพ

สาระที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ ระดับชั้น ป.4
มาตรฐาน 4.1 เข้าใจ เห็นคุณค่า และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหา การทำงานและอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีคุณธรรม

สาระที่ 5 เทคโนโลยีเพื่อการทำงานและอาชีพ ระดับชั้น ป.4
มาตรฐาน 5.1 ใช้เทคโนโลยีในการทำงาน การผลิต การออกแบบ การแก้ปัญหา การสร้างงาน การสร้างอาชีพสุจริตอย่างมีความเข้าใจ มีการวางแผนเชิงกลยุทธ์ และมีความคิดสร้างสรรค์

สรุปได้ว่า จิตวิทยาพัฒนาการนั้น ครูผู้สอนควรจะจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนในวัยนี้ได้ทำงานร่วมกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรียนรู้วิธีแก้ปัญหา คิดหาเหตุผล และเรียนรู้บทบาทที่จะเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต รวมทั้ง การสอนให้เด็กเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมก็มีผลต่อพัฒนาการของเด็กด้วย

3. หนังสือการจัดการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริง (Laboratory Method) ทั้งที่เป็นการเรียนรู้รายบุคคลหรือกิจกรรมกลุ่ม ด้วยหนังสืออ่านประกอบ
หนังสือการจัดการเรียนรู้เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่ได้พัฒนามาจากวิธีการสอนหลายๆ ระบบเข้ามาประสมประสานกันให้กลมกลืนได้อย่างพอเหมาะ นับตั้งแต่การเรียนรู้ด้วยตนเอง การร่วมกิจกรรมกลุ่ม การใช้สื่อในรูปแบบต่าง ๆ การปฏิบัติกิจกรรมนั้น นักเรียนมีโอกาสได้รับความภาคภูมิใจในความสำเร็จ โดยทราบผลย้อนกลับ(Feed Back) ทันทีหลังจากประกอบกิจกรรมนั้นๆ ผู้รายงานได้ใช้วิธีการสอนหลายวิธีควบคู่การใช้หนังสือ เช่น

3.1 วิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลอง (Laboratory Method)
วิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลองเป็นวิธีสอนที่ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนลงมือปฏิบัติหรือทำการทดลองค้นหาความรู้ด้วยตนเองทำให้เกิดประสบการณ์ตรง วิธีสอนแบบปฏิบัติหรือการทดลองแตกต่างจากวิธีสอนแบบสาธิตคือวิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลองผู้เรียนเป็นผู้กระทำเพื่อพิสูจน์หรือค้นหาความรู้ด้วยตนเองส่วนวิธีสอนแบบสาธิตนั้นครูหรือนักเรียนเป็นผู้สาธิตกระบวนการและผลที่ได้รับจากการสาธิตเมื่อจบการสาธิตแล้วผู้เรียนต้องทำตามกระบวนการและวิธีการสาธิตนั้น
ความมุ่งหมายของวิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลอง
1. เพื่อให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติหรือทดลองค้นหาความรู้ด้วยตนเอง
2. เพื่อส่งเสริมการใช้ประสบการณ์ตรงในการแก้ปัญหา
3. เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าแทนการจดจำจากตำรา
ขั้นตอนของวิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลอง
1. ขั้นกล่าวนำ
2. ขั้นเตรียมดำเนินการ
3. ขั้นดำเนินการทดลอง
4. ขั้นเสนอผลการทดลอง
5. ขั้นอภิปรายและสรุปผล
ข้อดีของวิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือทดลอง
1. ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของการปฏิบัติการหรือทดลอง
2. เป็นการเรียนรู้จากการกระทำหรือเป็นการเรียนรู้จากสภาพจริง
3. เสริมสร้างความคิดในการหาเหตุผล
4. เป็นการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
5. เป็นการเรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสหลายด้าน
6. การปฏิบัติการหรือทดลองนอกจากช่วยเพิ่มความเข้าใจในการเรียนรู้แล้ว ยังทำให้
นักเรียนมีความสนใจและตั้งใจเรียนเพราะได้ปฏิบัติจริงด้วยตนเอง
ข้อสังเกตของวิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือทดลอง
1. ผู้เรียนทุกคนต้องมีโอกาสใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เท่าๆ กันจึงจะได้ผลดี
2. ต้องมีการควบคุมความปลอดภัยในการใช้อุปกรณ์และห้องปฏิบัติการ
3. ต้องมีเวลาในการเตรียมจัดตั้งเครื่องมือหรืออุปกรณ์การทดลองอย่างเพียงพอ
4. ต้องใช้งบประมาณมาก เนื่องจากเครื่องมือเครื่องใช้ในการทดลองมีราคาแพง หากไม่
เตรียมการสอนที่ดีพอผลที่ได้จะไม่คุ้มค่า
4.ต้องกำหนดสัดส่วนจำนวนนักเรียนต่อพื้นที่ที่ปฏิบัติการหรือทดลองให้เหมาะสมโดยปกติ
แล้ววิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลองทำได้กับนักเรียนจำนวนน้อย
จำเนียร ศิลปะวานิช (2538) สรุปว่า วิธีสอนแบบการปฏิบัติ (laboratory Method)หมายถึงวิธีสอนที่ให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจนเกิดความรู้ ความเข้าใจ เพื่อพิสูจน์ ข้อเท็จจริง พิสูจน์สมมุติฐาน หรือค้นพบข้อความต่างๆ โดยมีความมุ่งหมาย ดังนี้
1. เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้จากประสบการณ์ตรงโดยการสังเกตและทดลอง
2. เพื่อให้นักเรียนมีประสบการณ์ในการทดลอง ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนสนใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น
3. เพื่อพัฒนาทักษะในการใช้เครื่องมือต่างๆในการทดลอง
ขั้นตอนของการสอนวิธีนี้มี 3 วิธี คือ
1. ขั้นนำให้เกิดความเข้าใจและแรงจูงใจ ครูเสนมแนะสิ่งที่จะทำการทดลองอธิบายให้นักเรียนเข้าใจในวิธีการทดลอง แจกคำแนะนำหรือคู่มือในการทดลอง
2. ขั้นทำการทดลอง นักเรียนทุกคนอาจทำการทดลองในปัญหาเดียวหรือแตกต่างกันก็ได้การทดลองจะกินเวลาเท่าไรย่อมแล้วแต่ลักษณะของการทดลองนั้นๆ
3. ขั้นเสนอผลการทดลอง หลังจากทดลองหรือเมื่อทดลองใกล้เสร็จนักเรียนต้องมารวมกันเพื่ออธิปรายถึงวิธีการที่จะเสนอผลการทดลองว่าจะทำอย่างไรซึ่งอาจทำได้โดยวิธีการดังนี้
3.1 อธิบายถึงธรรมชาติและสำคัญของปัญหาแต่ละอย่างที่ทำการทดลอง
3.2 รายงานข้อมูลหรือข้อค้นพบที่รวบรวมได้
3.3 แสดงตัวอย่างที่เป็นวัสดุหรือในรูปอื่นๆที่ได้จากผลงาน
3.4 แสดงนิทรรศการผลงานด้านต่างๆพร้อมทั้งการอธิบายประกอบ
ข้อดี
1.เป็นการเรียนรู้โดยกระทำ
2.เป็นการเรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสหลายด้าน
3.ทำให้จำได้นานเนื่องจากเรียนรู้จากของจริง
ข้อจำกัด
1.สิ้นเปลืองวัสดุอุปกรณ์
2.ใช้เวลาในการสอนมาก

การเพาะเลี้ยงกบ บทที่ 1

บทที่ 1
บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 เป็นไปเพื่อให้การจัดการศึกษาสอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิชาการต่างๆ ของยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งถือว่า การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคน เพื่อให้คนพัฒนาประเทศ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 เน้นการสร้างคนไทยให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข และมีศักยภาพพร้อมที่จะแข่งขันและร่วมมือกันอย่างสร้างสรรค์ในเวทีโลกตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ( 2544, หน้า 1) ที่กำหนดให้มีการจัดทำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 เพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองดีของชาติ การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ ตลอดจนการศึกษาต่อ และการให้สถานศึกษาจัดทำสาระหลักสูตรและสาระเพิ่มเติมในส่วนที่เป็นปัญหาและความต้องการของชุมชน โดยยึดหลักความมีเอกภาพในด้านนโยบาย และความหลากหลายในการปฏิบัติ ซึ่งหลักสูตรแกนกลางมีโครงสร้างหลักที่ยืดหยุ่น มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้เป็นตัวกำหนด คุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน (2544, หน้า 2) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี(งานเกษตร) เป็นกลุ่มสาระการเรียนที่ผู้เรียนทุกคนในระดับประถมศึกษาต้องเรียนเพื่อเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ ทั้งนี้เพราะกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี(งานเกษตร) นี้ ว่าด้วยการอยู่ร่วมกันบนโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา มีการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ ซึ่งแตกต่างกันอย่างหลากหลาย การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ทำให้พลเมืองมีความรับผิดชอบ มีความสามารถทางสังคม ความรู้ และเกิดความเจริญงอกงาม
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี(งานเกษตร) จะช่วยให้นักเรียนเกิดทักษะในการพัฒนาการประกอบอาชีพและสามารถนำความรู้ ทักษะค่านิยมและเจตคติ ที่ได้รับการอบรมบ่มนิสัยมาใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะงานเกษตรที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตและประกอบอาชีพอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข (2544, หน้า 1-2)
กระทรงศึกษาธิการได้เสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี(งานเกษตร) โดยต้องจัดให้เหมาะสมกับวัย ให้ผู้เรียนมีส่วนในการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง พัฒนาการอาชีพ การจัดการสอนที่มีการบูรณาการ พัฒนาค่านิยม จริยธรรม ท้าทาย และเน้นการปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อให้การเรียนรู้นำไปใช้ในชีวิตจริงได้ (2544, หน้า 31-32)
ดังนั้น ครูผู้สอนจึงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษา ครูผู้สอนจึงต้องรู้จักนำเสนอวิธีการสอน การผลิตสื่อการสอน และการนำเทคนิคการสอนมาจัดเป็นกระบวนการการเรียนการสอนที่หลากหลาย ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ครูต้องจัดเนื้อหา สาระการเรียนรู้และกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะในกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญกับสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้ มาใช้เพื่อป้องกันและการแก้แก้ไขปัญหา ครูควรจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมและการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน
การจัดการเรียนการสอนสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี(งานเกษตร) ของโรงเรียนหัวนานี้ ปัจจุบันผู้สอนจะเน้นการบรรยายและสอนแบบสาธิตที่มีตัวอย่างแต่ในตำราเรียน เมื่อสอนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง บางครั้งครูไม่ค่อยมีตัวอย่างจริงในการนำเข้าสู่บทเรียน บางครั้งก็จะเริ่มดำเนินการสอนเลย เมื่อสอนจบแต่ละเรื่องก็มีการวัดและประเมินผลตามเอกสารในตำราเรียน แต่มีการสอบเพื่อเก็บคะแนนในช่วงกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียนบ้าง ในการวัดและประเมินผลแต่ละครั้ง ผู้สอนจะออกข้อสอบตามเนื้อหาสาระและตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง พร้อมทั้งได้สรุปผลการสอบไว้เป็นเรื่องๆ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการสอนซ่อมเสริมหรือการสอนนักเรียนรุ่นต่อไปว่า ควรจะเน้นเรื่องใดเป็นพิเศษ จากประสบการณ์การสอนวิชาการงานอาชีพนี้ พบว่า ผลการสอบวิชาการงานอาชีพนักเรียนจะได้คะแนนเฉลี่ยน้อย
จากผลการเรียนดังกล่าวเป็นปัญหาที่ ผู้สอนจะได้วิเคราะห์หาสาเหตุเบื้องต้นที่ทำให้ผลการเรียนในการงานอาชีพและเทคโนโลยี(งานเกษตร) บางเรื่องไม่เป็นที่น่าพอใจ ซึ่งพอสรุปเบื้องต้นได้ว่า อาจเป็นเพราะวิธีการสอนของครู เนื่องจากการสอนที่ใช้อยู่เป็นการสอนโดยเน้นการบรรยายเป็นหลัก(Lecture Method) นักเรียนส่วนหนึ่งฟังแล้วเข้าใจรู้เรื่องดี แต่มีนักเรียนอีกจำนวนหนึ่งฟังแล้วไม่เข้าใจเพราะมาจากครอบครัวชนเผ่า ทั้งๆ ที่ครูผู้สอนพยายามเอาใจใส่นักเรียนที่เรียนอ่อนแล้วแต่เมื่อถึงเวลาประเมินผลการเรียน ผลการประเมินมักจะปรากฏอยู่เสมอว่า คนที่ได้คะแนนสูงก็จะได้คะแนนสูงทุกครั้ง คนที่ได้คะแนนต่ำก็จะได้คะแนนต่ำทุกครั้ง หรืออาจเป็นเพราะยังมีสื่อการสอนไม่เพียงพอหรือมีสื่อที่ยังไม่เหมาะสมกับการเรียนรู้ของนักเรียน คือ สื่อที่ปฏิบัติจริงด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของเด็ก ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงมีความสนใจที่จะหาทางพัฒนานวัตกรรมที่น่าสนใจและเหมาะสมกับความสามารถของนักเรียน จึงได้ตัดสินใจเลือกบทเรียนส่งเสริมการงานอาชีพเรื่อง การเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์มาประยุกต์ใช้เป็นนวัตกรรมประกอบการสอนและการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
หนังสือที่เป็นนวัตกรรมส่งเสริมการอ่านประกอบการงานอาชีพและเทคโนโลยี(งานเกษตร) นี้ เป็นบทเรียนที่สร้างขึ้นโดยการ กำหนดเนื้อหา วัตถุประสงค์ วิธีการสอนและสื่อการสอนไว้ล่วงหน้า ทำให้ผู้เรียนสามารถสอนด้วยการปฏิบัติจริง ให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่น ตาดู หูฟัง เป็นต้น และประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง บทเรียนที่จัดแบ่งเนื้อหาจากง่ายไปหายาก มีคำถามให้นักเรียนไว้คิดและตอบ นอกจากนี้ยังมี คำชักชวน ติชม และภาพการ์ตูน ภาพกบประกอบเพื่อเป็นการเสริมแรงและทำให้ ผู้เรียนสนุกสนาน เพลิดเพลิน เร้าใจและสนใจไม่เบื่อหน่าย ผู้เรียนมีโอกาสที่จะศึกษาด้วยตนเอง และเป็นการตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ลำดับความยากง่าย ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการการเรียนรู้ของนักเรียนให้สูงขึ้น
ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างนวัตกรรมส่งเสริมการการงานอาชีพและเทคโนโลยี(งานเกษตร) นี้ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ครูชำนาญการ โรงเรียนหัวนา อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ รับผิดชอบการสอนในกลุ่มสาระการการงานอาชีพและเทคโนโลยี(งานเกษตร) จึงได้จัดทำนวัตกรรมเพื่อพัฒนาการการงานอาชีพ ชุด การเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ขึ้น เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการใช้นวัตกรรมดังกล่าว ที่จะได้เป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี(งานเกษตร) ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสอดคล้องกับพัฒนาการของนักเรียนให้มากขึ้น

วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพผลการใช้หนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหัวนา ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
3. เพื่อทราบความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้หนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ขออบเขตของการศึกษา
1. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมปีที่ 4 โรงงเรียนบ้านหัวนา ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 39 คน

2. เนื้อหา
เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา คือ หนังสือประกอบการอ่าน เรื่อง การเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 5 เล่ม ดังนี้
เล่ม 1 เรื่อง ชีวิตของกบน้อย ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกบ พันธุ์กบที่จะนำมาเลี้ยง การเลือกสถานที่และสร้างคอกหรือบ่อเลี้ยงกบ
เล่ม 2 เรื่อง กบน้อยเลือกคู่ การเตรียมและการคัดพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์กบนา การเตรียมบ่อเพาะพันธุ์และการผสมพันธุ์กบ การลำเลียงไข่กบจากบ่อผสมไปบ่ออนุบาลและเปลี่ยนถ่ายน้ำ การคัดขนาดลูกกบ อายุ/อัตราการอนุบาลและการปล่อยเลี้ยง รวมทั้งอาหารและชนิดของอาหาร
เล่ม 3 เรื่อง ครอบครัวสุขสันต์ การเลี้ยงกบในบ่อดิน การเลี้ยงกบในคอก การเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์ และการเลี้ยงกบในกระชัง
เล่ม 4 เรื่อง กบน้อยไม่สบาย การดูแลรักษากบ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โรคที่เกิดจาดโปรโตซัวในทางเดินอาหาร โรคท้องบวม และการป้องกันโรคในกบ
เล่ม 5 เรื่อง ไปเที่ยวตลาดกันนะ การจับกบเพื่อจำหน่าย ต้นทุนการเลี้ยงกบ และการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของตนเองและครอบครัว
ซึ่งทั้ง 10 เล่ม ประกอบด้วย คู่มือการใช้ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนและหลังการเรียนรู้

3. สมมติฐาน
1. หนังสือการอ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบในบ่อปูนซีเมนต์ สาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 70/70
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยหนังสือการอ่านประกอบสูงกว่าก่อนเรียน

4. ตัวแปรในการศึกษา
ตัวแปรต้น คือ หนังสือการอ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบในบ่อปูนซีเมนต์ สาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ตัวแปรตาม คือ
1. ประสิทธิภาพของหนังสือการอ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบในบ่อปูนซีเมนต์ สาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยหนังสือการอ่านประกอบ

นิยามศัพท์เฉพาะ
หนังสือประกอบการอ่านเรื่อง การเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์ หมายถึง หนังสือที่ผู้รายงานสร้างขึ้นมาให้อ่านประกอบการสอนกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี(งานเกษตร) ที่มีสีสัน มีเนื้อหา และขั้นตอนวิธีการเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์ มีจำนวน 5 เล่ม ดังนี้ เล่ม 1 เรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกบ เล่ม 2 เรื่อง กบน้อยเลือกคู่ เล่ม 3 เรื่อง ครอบครัวสุขสันต์ เล่ม 4 เรื่อง กบน้อยไม่สบาย และเล่ม 5 เรื่อง ไปเที่ยวตลาดกันนะ
เกณฑ์ประสิทธิภาพของหนังสือประกอบการอ่าน หมายถึง เกณฑ์คุณภาพของหนังสือ ซึ่งนักเรียนเรียนแล้วสามารถปฏิบัติกิจกรรมและตอบคำถามได้มากที่สุด โดยกำหนดเป็นเกณฑ์มาตรฐานที่ 70/70 เป็นเกณฑ์ เกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 70/70 หมายถึง ดังนี้
1) 70 ตัวแรก หมายถึง ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทั้งหมด ที่ได้จากการทำแบบทดสอบย่อยระหว่างเรียน ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 70
2) 70 ตัวหลัง หมายถึง ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทั้งหมดที่ได้จากการทำแบบทดสอบและวัดผลสัมฤทธิ์หลังการเรียน เรื่อง การเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์ ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง แบบฝึกเพื่อทดสอบที่ผู้รายงานสร้างขึ้นเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยวัดก่อนเรียนและหลังเรียน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนที่นักเรียนทำได้จากการตอบแบบทดสอบและวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยหนังสือ อ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์ ที่ได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 70%

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้หนังสืออ่านประกอบสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี(งานเกษตร)เรื่อง การเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์ สำหรับชั้นประถมปีที่ 4 จำนวน 5 เล่ม
2. นักเรียนได้เรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่านประกอบในกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี(งานเกษตร) สำหรับชั้นประถมปีที่ 4
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี(งานเกษตร)สูงขึ้น
4. ผลการศึกษาได้ทราบถึงวิธีการสร้างหนังสืออ่านประกอบ ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างหนังสืออ่านประกอบเรื่องอื่นๆ ต่อไป
5. ได้รับข้อมูลพื้นฐานสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะใช้เป็นแนวทางสำหรับการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยีช่วยให้โรงเรียนมีผลงานทางด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
6. ช่วยให้นักเรียนมีประสบการณ์และมีรายได้เพิ่มขึ้น