วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

การเพาะเลี้ยงกบ บทที่ 2

บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้รายงานได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบในบ่ซีเมนต์ สาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี(งานเกษตร) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ซึ่งจะนำเสนอตามลำดับ ดังต่อไปนี้

2.1 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 กลุ่มสาระการงานอาชีพ และเทคโนโลยี
1.1 วิสัยทัศน์
1.2 คุณภาพนักเรียน
1.3 สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
1.4 มาตรฐานการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
1.5 การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น สาระการเรียนรู้ช่วงชั้น ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี
1.6 แนวทางการจัดการเรียนรู้
2.2 จิตวิทยาการเรียนรู้ จิตวิทยาการศึกษา จิตวิทยาการพัฒนาการ
2.3 หนังสือการจัดการเรียนรู้แบบโครงการ(Project Method)
3.1 ความหมายของหนังสืออ่านประกอบ
3.1 ประเภทของหนังสืออ่านประกอบ
3.3 หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
3.4 แนวคิดพื้นฐานที่นำไปสู่การสร้างหนังสืออ่านประกอบการเรียนรู้
3.5 ระบบการผลิตหนังสืออ่านประกอบของ....แผนจุฬา..
3.6 ส่วนประกอบของหนังสืออ่านประกอบ
3.7 ขั้นตอนการสร้างหนังสือการอ่านประกอบ
3.8 การเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง(ประสาทสัมผัส) การเรียนรู้แบบบูรณาการ
3.9 การจัดการการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง(ประสาทสัมผัส) การเรียนรู้แบบบูรณาการ
3.10 ข้อดีของการจัดการการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง(ประสาทสัมผัส) การเรียนรู้แบบบูรณาการ
3.11 ลักษณะและคุณค่าของหนังสืออ่านประกอบ
3.12 การหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านประกอบ
3.13 ขั้นตอนการทดสอบหาประสิทธิภาพ
2.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.1 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี
วิสัยทัศน์การเรียนรู้กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี

วิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์ของกลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี เป็นสาระที่เน้นกระบวนการทำงานและการจัดการอย่างเป็นระบบ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะการออกแบบงานและการทำงานอย่างมีลกยุทธ์ โดยใช้วิทยากรในชุมชน และท้องถิ่นที่มีภูมิความรู้ในด้านอาชีพหลักและอาชีพเสริม รวมทั้งการสร้าง และ พัฒนาผลิตภัณฑ์หรือวิธีการใหม่ เน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและพลังงานอย่างประหยัดและคุ้มค่าเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าว กลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี จึงกำหนดวิสัยทัศน์การเรียนรู้ที่ยึดงานและการแก้ปัญหาเป็นสำคัญบนพื้นฐานของการใช้หลักการและทฤษฎีเป็นองค์ความรู้หลัก ในหารกำกับการทำงานและการแก้ปัญหา งานที่นำมาฝึกฝนเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ของกลุ่มนั้น เป็นงานเพื่อการดำรงชีวิตในครอบครัวและสังคม และงานเพื่อการประกอบอาชีพ ซึ่งงานทั้ง 2 ประเภทนี้ เมื่อผู้เรียนได้รับการฝึกฝนตามกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยีแล้ว ก็จะเป็นการปลูกฝังและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพและศีลธรรม การเรียนรู้จากการทำงานและการแก้ปัญหาของกลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี จึงเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการบูรณาการ องค์ความรู้ ทักษะ และองค์ความดีที่หลอมรวม จนก่อเกิดเป็นคุณลักษณะของผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนด โรงเรียนบ้านหัวนา มุ่งพัฒนาให้ความรู้แก่นักเรียนสามารถเกิดทักษะในการสร้างงานอาชีพก่อให้เกิดรายได้ช่วยเหลือครอบครัว เพื่อสร้างความพร้อมก้าวสู่โลกแห่งเทคโนโลยีการเรียนรู้อย่างมั่นใจ

คุณภาพของผู้เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
กลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี มุ่งพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวมเพื่อให้เป็นคนดี มีความรู้ ความสามารถ โดยมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ดังนี้
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำรงชีวิตและครอบครัว การอาชีพ การออกแบบและเทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีเพื่อการทำงานและอาชีพ
มีทักษะในการทำงาน การประกอบอาชีพ การจัดการ การแสวงหาความรู้เลือกใช้เทคโนโลยีทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างคุ้มค่า และ สามารถทำงานอย่างมีกลยุทธ์สร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือวิธีการใหม่
มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน รักการทำงาน ประหยัด อดออม ตรงต่อเวลา เอื้อเฟื้อ เสียสละ และมีวินัยในการทำงาน เห็นคุณค่าความสำคัญของงานและอาชีพสุจริต ตระหนักถึงความสำคัญของสารสนเทศ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และพลังงาน

ในการจัดการศึกษาตามหลักสูตรท้องถิ่นนี้ จะต้องมุ่งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะดังนี้
1. มีความภูมิใจในความเป็นไทย สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เต็มใจ ช่วยเหลือผู้อื่นตาม ความสามารถของตน
2. มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถสร้างและปรับปรุงแนวทางปฏิบัติที่จะทำให้เกิดความเจริญแก่ตนเอง และชุมชน
3. มีทัศนะที่ดีต่อสัมมาชีพทุกชนิด มีนิสัยรักการทำงานและมีความสามารถในการเลือกอาชีพที่เหมาะสม กับความถนัดและความสนใจของตนเอง
4. มีทักษะพื้นฐานในการประกอบสัมมาชีพ มีความสามารถในการจัดการ และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
5. เข้าใจสภาพและการเปลี่ยนแปลงของสังคมในชุมชน สามารถเสนอแนวทางพัฒนาชุมชน ภูมิใจในการปฏิบัติตนตามบทบาทและหน้าที่ในฐานะสมาชิกที่ดี

สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่เป็นแก่นความรู้ของกลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี นี้ ประกอบด้วย 5 สาระหลัก ดังนี้
สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว
สาระที่ 2 การอาชีพ
สาระที่ 3 การออกแบบและเทคโนโลยี
สาระที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ
สาระที่ 5 เทคโนโลยีเพื่อการทำงานและอาชีพ

มาตรฐานการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
มาตรฐานการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน ของกลุ่มกลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี ผู้สอนได้นำเสนอโดยรวม แล้งจึงนำสู่งานเกษตร ตอนการเลี้ยงสัตว์ ดังนี้
สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว ระดับชั้น ป.4
มาตรฐาน 1.1 เข้าใจ มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะ มีคุณธรรม มีจิตสำนึกในการใช้พลังงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน เพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัวที่เกี่ยวข้องกับ งานบ้าน งานเกษตร งานประดิษฐ์ งานช่าง และงานธุรกิจ
มาตรฐาน 1.2 มีทักษะกระบวนการทำงาน การจัดการ การทำงานเป็นกลุ่ม การแสดงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาในการทำงาน รักการทำงานและมีเจตคติที่ดีต่องาน

สาระที่ 2 การอาชีพ ระดับขั้น ป.4
มาตรฐาน 2.1 เข้าใจ มีทักษะ มีประสบการณ์ในงานอาชีพสุจริต มีคุณธรรม มีเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ และเห็นแนวทางในการประกอบอาชีพสุจริต

สาระที่ 3 การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น ป.4
มาตรฐาน 3.1 เข้าใจธรรมชาติและกระบวนการเทคโนโลยี ใช้ความรู้ ภูมิปัญญา จินตนาการและวามคิดอย่างมีระบบในการออกแบบ สร้างสิ่งของ เครื่องใช้ วิธีการเชิงกลยุทธ์ ตามกระบวนการเทคโนโลยี สามารถตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม โลกของงานและอาชีพ

สาระที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ ระดับชั้น ป.4
มาตรฐาน 4.1 เข้าใจ เห็นคุณค่า และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหา การทำงานและอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีคุณธรรม

สาระที่ 5 เทคโนโลยีเพื่อการทำงานและอาชีพ ระดับชั้น ป.4
มาตรฐาน 5.1 ใช้เทคโนโลยีในการทำงาน การผลิต การออกแบบ การแก้ปัญหา การสร้างงาน การสร้างอาชีพสุจริตอย่างมีความเข้าใจ มีการวางแผนเชิงกลยุทธ์ และมีความคิดสร้างสรรค์

สรุปได้ว่า จิตวิทยาพัฒนาการนั้น ครูผู้สอนควรจะจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนในวัยนี้ได้ทำงานร่วมกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรียนรู้วิธีแก้ปัญหา คิดหาเหตุผล และเรียนรู้บทบาทที่จะเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต รวมทั้ง การสอนให้เด็กเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมก็มีผลต่อพัฒนาการของเด็กด้วย

3. หนังสือการจัดการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริง (Laboratory Method) ทั้งที่เป็นการเรียนรู้รายบุคคลหรือกิจกรรมกลุ่ม ด้วยหนังสืออ่านประกอบ
หนังสือการจัดการเรียนรู้เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่ได้พัฒนามาจากวิธีการสอนหลายๆ ระบบเข้ามาประสมประสานกันให้กลมกลืนได้อย่างพอเหมาะ นับตั้งแต่การเรียนรู้ด้วยตนเอง การร่วมกิจกรรมกลุ่ม การใช้สื่อในรูปแบบต่าง ๆ การปฏิบัติกิจกรรมนั้น นักเรียนมีโอกาสได้รับความภาคภูมิใจในความสำเร็จ โดยทราบผลย้อนกลับ(Feed Back) ทันทีหลังจากประกอบกิจกรรมนั้นๆ ผู้รายงานได้ใช้วิธีการสอนหลายวิธีควบคู่การใช้หนังสือ เช่น

3.1 วิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลอง (Laboratory Method)
วิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลองเป็นวิธีสอนที่ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนลงมือปฏิบัติหรือทำการทดลองค้นหาความรู้ด้วยตนเองทำให้เกิดประสบการณ์ตรง วิธีสอนแบบปฏิบัติหรือการทดลองแตกต่างจากวิธีสอนแบบสาธิตคือวิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลองผู้เรียนเป็นผู้กระทำเพื่อพิสูจน์หรือค้นหาความรู้ด้วยตนเองส่วนวิธีสอนแบบสาธิตนั้นครูหรือนักเรียนเป็นผู้สาธิตกระบวนการและผลที่ได้รับจากการสาธิตเมื่อจบการสาธิตแล้วผู้เรียนต้องทำตามกระบวนการและวิธีการสาธิตนั้น
ความมุ่งหมายของวิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลอง
1. เพื่อให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติหรือทดลองค้นหาความรู้ด้วยตนเอง
2. เพื่อส่งเสริมการใช้ประสบการณ์ตรงในการแก้ปัญหา
3. เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าแทนการจดจำจากตำรา
ขั้นตอนของวิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลอง
1. ขั้นกล่าวนำ
2. ขั้นเตรียมดำเนินการ
3. ขั้นดำเนินการทดลอง
4. ขั้นเสนอผลการทดลอง
5. ขั้นอภิปรายและสรุปผล
ข้อดีของวิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือทดลอง
1. ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของการปฏิบัติการหรือทดลอง
2. เป็นการเรียนรู้จากการกระทำหรือเป็นการเรียนรู้จากสภาพจริง
3. เสริมสร้างความคิดในการหาเหตุผล
4. เป็นการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
5. เป็นการเรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสหลายด้าน
6. การปฏิบัติการหรือทดลองนอกจากช่วยเพิ่มความเข้าใจในการเรียนรู้แล้ว ยังทำให้
นักเรียนมีความสนใจและตั้งใจเรียนเพราะได้ปฏิบัติจริงด้วยตนเอง
ข้อสังเกตของวิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือทดลอง
1. ผู้เรียนทุกคนต้องมีโอกาสใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เท่าๆ กันจึงจะได้ผลดี
2. ต้องมีการควบคุมความปลอดภัยในการใช้อุปกรณ์และห้องปฏิบัติการ
3. ต้องมีเวลาในการเตรียมจัดตั้งเครื่องมือหรืออุปกรณ์การทดลองอย่างเพียงพอ
4. ต้องใช้งบประมาณมาก เนื่องจากเครื่องมือเครื่องใช้ในการทดลองมีราคาแพง หากไม่
เตรียมการสอนที่ดีพอผลที่ได้จะไม่คุ้มค่า
4.ต้องกำหนดสัดส่วนจำนวนนักเรียนต่อพื้นที่ที่ปฏิบัติการหรือทดลองให้เหมาะสมโดยปกติ
แล้ววิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลองทำได้กับนักเรียนจำนวนน้อย
จำเนียร ศิลปะวานิช (2538) สรุปว่า วิธีสอนแบบการปฏิบัติ (laboratory Method)หมายถึงวิธีสอนที่ให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจนเกิดความรู้ ความเข้าใจ เพื่อพิสูจน์ ข้อเท็จจริง พิสูจน์สมมุติฐาน หรือค้นพบข้อความต่างๆ โดยมีความมุ่งหมาย ดังนี้
1. เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้จากประสบการณ์ตรงโดยการสังเกตและทดลอง
2. เพื่อให้นักเรียนมีประสบการณ์ในการทดลอง ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนสนใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น
3. เพื่อพัฒนาทักษะในการใช้เครื่องมือต่างๆในการทดลอง
ขั้นตอนของการสอนวิธีนี้มี 3 วิธี คือ
1. ขั้นนำให้เกิดความเข้าใจและแรงจูงใจ ครูเสนมแนะสิ่งที่จะทำการทดลองอธิบายให้นักเรียนเข้าใจในวิธีการทดลอง แจกคำแนะนำหรือคู่มือในการทดลอง
2. ขั้นทำการทดลอง นักเรียนทุกคนอาจทำการทดลองในปัญหาเดียวหรือแตกต่างกันก็ได้การทดลองจะกินเวลาเท่าไรย่อมแล้วแต่ลักษณะของการทดลองนั้นๆ
3. ขั้นเสนอผลการทดลอง หลังจากทดลองหรือเมื่อทดลองใกล้เสร็จนักเรียนต้องมารวมกันเพื่ออธิปรายถึงวิธีการที่จะเสนอผลการทดลองว่าจะทำอย่างไรซึ่งอาจทำได้โดยวิธีการดังนี้
3.1 อธิบายถึงธรรมชาติและสำคัญของปัญหาแต่ละอย่างที่ทำการทดลอง
3.2 รายงานข้อมูลหรือข้อค้นพบที่รวบรวมได้
3.3 แสดงตัวอย่างที่เป็นวัสดุหรือในรูปอื่นๆที่ได้จากผลงาน
3.4 แสดงนิทรรศการผลงานด้านต่างๆพร้อมทั้งการอธิบายประกอบ
ข้อดี
1.เป็นการเรียนรู้โดยกระทำ
2.เป็นการเรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสหลายด้าน
3.ทำให้จำได้นานเนื่องจากเรียนรู้จากของจริง
ข้อจำกัด
1.สิ้นเปลืองวัสดุอุปกรณ์
2.ใช้เวลาในการสอนมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น