วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

การเพาะเลี้ยงกบ บทที่ 3

บทที่ 3
วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า

จากการศึกษาการใช้หนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว (งานเกษตร) กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผู้รายงานได้ดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1. กลุ่มเป้าหมาย
2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
3. การสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
5. การวิเคราะห์ข้อมูล
6. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

1. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นประถมปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหัวนา ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษาที่ 2552 จำนวนนักเรียน 39 คน

2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
1. เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ได้แก่
1.1 หนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 5 เล่ม ดังนี้
เล่ม 1 เรื่อง ชีวิตของกบน้อย
แผนที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกบและพันธุ์กบที่จะนำมาเลี้ยง
แผนที่ 2 การเลือกสถานที่และสร้างคอกหรือบ่อเลี้ยงกบ

เล่ม 2 เรื่อง กบน้อยเลือกคู่
แผนที่ 3 การคัดพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์กบนาและการผสมพันธุ์กบ
แผนที่ 4 การอนุบาลและเปลี่ยนถ่ายน้ำลูกกบ
แผนที่ 5 อาหารและชนิดของอาหาร
เล่ม 3 เรื่อง ครอบครัวสุขสันต์
แผนที่ 6 การเลี้ยงกบในบ่อดิน ในคอก ในกระชัง
แผนที่ 7 อยู่ดี กินดี การเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์

เล่ม 4 เรื่อง กบน้อยไม่สบาย
แผนที่ 8 การป้องกันดูแลรักษากบ
แผนที่ 9 โรคที่เกิดจากการเลี้ยงกบ

เล่ม 5 เรื่อง ไปเที่ยวตลาดกันนะ
แผนที่ 10 การจับกบเพื่อจำหน่าย

1.2 แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี เทคโนโลยี สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 10 แผน โดยจัดเรียงลำดับเรื่องที่ 1-5
1.3 คู่มือการใช้หนังสืออ่านประกอบ เรื่อง การเลี้ยงกบ กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (งานเกษตร) จำนวน 10 แผน จำนวน 5 เล่ม
เล่ม 1 เรื่อง ชีวิตของกบน้อย
เล่ม 2 เรื่อง กบน้อยเลือกคู่
เล่ม 3 เรื่อง ครอบครัวสุขสันต์
เล่ม 4 เรื่อง กบน้อยไม่สบาย
เล่ม 5 เรื่อง ไปเที่ยวตลาดกันนะ
2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
2.1 แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เป็นแบบเลือกตอบ(Multiple choice) ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 1 ชุด ชุดละ 40 ข้อ
2.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน สาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 5 ชุด ชุดละ 10 คะแนน ลักษณะของแบบทดสอบคือ แบบทดสอบ
2.2.1 ใบงานที่ 1 อ่านเนื้อเรืองและสรุปเนื้อเรื่อง+ ใบงานที่ 2 แผนผังความคิด เป็นการทดสอบด้านความรู้ 20 คะแนน
2.2.2 การทำงานกลุ่มหรือแบบประเมินพฤติกรรมและแผนผังความคิด (ด้านพฤติกรรม 20 คะแนน)
2.2.3 แบบประเมินคุณธรรมที่พึงประสงค์ (ด้านคุณธรรม 10 คะแนน)
รวมทั้งสิ้น 50 คะแนน
2.3 แบบสอบถามความคิดเห็น ของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียน โดยใช้หนังสืออ่านประกอบ เรื่อง การเลี้ยงกบ จำนวน 10 ข้อ แบบสอบถามใช้มาตราประเมินค่า 5 ระดับตามแบบของ Likert Scale คือ เห็นด้วยมากที่สุด เห็นด้วยมาก เห็นด้วยปานกลาง เห็นด้วยน้อย และเห็นด้วยน้อยที่สุด

3. ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ
1. การสร้างหนังสือการจัดการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริง (Learning by doing)
การสร้างหนังสือการจัดการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวนทั้ง 5 เล่ม( 5 ชุด) ผู้ศึกษาได้ดำเนินการสร้างตามขั้นตอน ดังนี้
1.1 ศึกษารายละเอียดและขั้นตอนการสร้างหนังสืออ่านประกอบ เรื่อง การเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์ จากเอกสารและงานวิจัยต่าง ๆ
1.2 ศึกษาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้หนังสืออ่านประกอบ เรื่อง การเลี้ยงกบ ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมปีที่ 4 และเอกสารคู่มือครู
1.3 พิจารณาเนื้อหาว่า มีเนื้อหาใดมีความเหมาะสมกับหลักการจัดการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริง กำหนดหน่วยการจัดการเรียนรู้ โดยแบ่งสาระการเรียนรู้ออกเป็นหน่วยการจัดการเรียนรู้ 1.4 กำหนดหน่วยการจัดการเรียนรู้ออกเป็น 10 หน่วยการเรียนรู้ โดยเรียงลำดับเรื่องย่อยทั้งหมด .....(เดิม 35 เรื่อง ..ปรับแผนและตัดท้ายเล่ม 5 จึงเหลือ กี่เรื่อง..)

1 ความคิดเห็น: