วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

การเพาะเลี้ยงกบ บทที่ 4

บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การใช้หนังสืออ่านประกอบชุด การเลี้ยงกบ เล่ม 1-5 จากสาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว (งานเกษตร) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี(งานเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหัวนา ตำบลม่อนปิน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่นี้ ผู้รายงานได้ดำเนินการศึกษาอย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยแบ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูลเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 ผลการหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านประกอบการจัดการเรียนรู้แบบการลงมือปฏิบัติจริง(Learning by doing)
ตอนที่ 2 เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว (งานเกษตร) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยหนังสืออ่านประกอบชุด การเลี้ยงกบ เล่ม 1-5
ตอนที่ 3 ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยการลงมือปฏิบัติจริงจากหนังสืออ่านประกอบชุด การเลี้ยงกบ เล่ม 1-5








...
ตอนที่ 1 ผลการหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านประกอบ เรื่อง การเลี้ยงกบ
การหาประสิทธิภาพของชุดการจัดการการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงกลับกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนบ้านหัวนา จำนวน 39 คน โดยใช้เกณฑ์มาตรฐาน 70/70 ปรากฏผลดังตาราง 9
ตาราง 9 ประสิทธิภาพของหนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว (งานเกษตร) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
หนังสืออ่านประกอบชุดการเลี้ยงกบ
เรื่อง
ประสิทธิภาพของหนังสืออ่านประกอบชุด การเลี้ยงกบ E1/E2
1
ชีวิตของกบน้อย
78.36/70.57
2
กบน้อยเลือกคู่
71.89/71.09
3
ครอบครัวสุขสันต์
78.35/74.67
4
กบน้อยไม่สบาย
77.28/73.38
5
ไปเที่ยวตลาดกันนะ
76.61/75.00

ค่าเฉลี่ย E1/E2
76.49/72.94

จากตาราง 9 พบว่า ประสิทธิภาพของหนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์ มีประสิทธิภาพสูงกว่า เกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 70/70 และค่าเฉลี่ยของหนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์ ทั้ง 5 เล่ม มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 76.49/72.94






ตอนที่ 2 เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว (งานเกษตร) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยหนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 39 คน

ตาราง 10 การเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการใช้หนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ

ก่อนเรียน
หลังเรียน
ค่าความก้าวหน้าทางการเรียน
คะแนนเต็ม
 %
S.D.
คะแนนเต็ม
 %
S.D.
40


40


t =

* มีนัยสำคัญที่ระดับ .01
จากตาราง 10 พบว่า คะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการใช้หนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 39 คน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


ตอนที่ 3 ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วย การใช้หนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ
ในการสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยการใช้หนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นหลังจากเสร็จสิ้นการเรียนด้วยการใช้หนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว (งานเกษตร) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ได้ผลการตอบแบบสอบถาม ดังตาราง 11 ดังนี้
ตาราง 11 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยการใช้หนังสืออ่านประกอบ(Learning by doing) เรื่อง การเลี้ยงกบ สาระที่ 1
การดำรงชีวิตและครอบครัว (งานเกษตร) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี


จากตารางที่ 11 พบว่า ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยการใช้หนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว (งานเกษตร) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยภาพรวมอยู่ในระดับ เห็นด้วยมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.90เมื่อพิจารณารายข้อพบว้า ด้านสื่อการสอน ได้แก่ นักเรียนชอบวิธีการเรียนรู้ด้วยแบบลงมือปฏิบัติจริง นักเรียนมีความสุขกับการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านประกอบแบบลงมือปฏิบัติจริง และนักเรียนต้องการเรียนรู้ด้วยแบบลงมือปฏิบัติจริงกับวิชาอื่น นักเรียนมีความคิดเห็นด้วยมากที่สุดทุกข้อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น