วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

การเพาะเลี้ยงกบ บทที่ 5

บทที่ 5
สรุป อภิปรายและข้อเสนอนะ
การใช้หนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ จำนวน 5 เล่ม จากสาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว(งานเกษตร) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหัวนา ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่นี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพผลการใช้หนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหัวนา อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และ 3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วย การใช้หนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหัวนา ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง สำนักงานเขตพื้นที่ศึกษาเชียงใหม่เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) การเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงจากหนังสืออ่านประกอบ เรื่อง การเลี้ยงกบ จำนวน 5 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้และคู่มือครูที่ใช้ควบคู่กับชุดการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงจากหนังสืออ่านประกอบ เรื่อง การเลี้ยงกบ จำนวน 5 เล่ม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนละหลังเรียน จำนวน 40 ข้อ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงจากหนังสืออ่านประกอบ เรื่อง การเลี้ยงกบ จำนวน 1 ฉบับ เครื่องมือทั้งหมดได้ผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญ และได้ปรับปรุงแก้ไขแล้วเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลจริงจากกลุ่มเป้าหมาย ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที่ (t-test)
สรุปผลการศึกษา
ผู้รายงานได้ดำเนินการศึกษาอย่างเป็นขั้นตอน โดยทำการทดสอบก่อนเรียนและดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ คู่มือครู ประกอบด้วยหนังสืออ่านประกอบ เรื่อง การเลี้ยงกบ จำนวน 5 เล่ม ได้ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน และตอบแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่านประกอบ เรื่อง การเลี้ยงกบ จำนวน 5 เล่ม ผลการสร้างและใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงจากหนังสืออ่านประกอบ เรื่อง การเลี้ยงกบ มีดังนี้
1. การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริงสาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว(การเกษตร) กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี มีประสิทธิภาพ (E1 / E2) เท่ากับ 76.49 / 72.94 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ที่ 70 / 70
2. คะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว(การเกษตร) กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหัวนา ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 39 คน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
3. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว(การเกษตร) กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหัวนา ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 39 คน ในภาพะรวมอยู่ในระดับ เห็นด้วยมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.90 โดยเฉพาะด้านสื่อการสอน ข้อที่ 8-10

อภิปรายผลการศึกษา
ผลจากการสร้างและใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว(การเกษตร) กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหัวนา ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่ศึกษาเชียงใหม่เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ซึ่งเป็นการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนของผู้รายงาน และจากผลสัมฤทธิ์ของการจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว(การเกษตร) กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ทั้ง 5 เล่ม พบว่า
การจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ ทั้ง 5 เล่ม มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
การจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ ทั้ง 5 เล่ม มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ อาจเป็นผลเนื่องจากสาเหตุ ดังนี้
1. การจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว(การเกษตร) กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหัวนา ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ได้สร้างขึ้นอย่างเป็นระบบตามหลักการสร้างนวัตกรรมที่เป็นหนังสืออ่านประกอบ โดยเริ่มจากการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์หลักสูตร ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง จุดประสงค์การเรียนรู้ และแบ่งเนื้อหาที่จะเรียนแต่ละเล่มได้อย่างเหมาะสมกิจกรรมภาคปฏิบัติจริงแต่ละกิจกรรมมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับการเรียนรู้ที่คาดหวังและจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ และการดำเนินการจัดการเรียนรู้ได้ใช้สื่อที่หลากหลายชนิดทั้งสื่อจำลองและสื่อที่เป็นของจริงที่แสดงให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ เช่น สื่อของจริง ได้แก่ กบ ยารักษาโรค อาหารกบ รวมทั้งสื่อจากคอมพิวเตอร์ สื่อจากอินเตอร์เน็ต การลงมือปฏิบัติจริงด้วยปราสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ โดยมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้
2. การจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว(การเกษตร) กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี แต่ละเล่ม จะยึดนักเรียนเป็นสำคัญ มีกระบวนการเรียนแบบกลุ่ม และนักเรียนปฏิบัติงานด้วยตนเอง รวมทั้งเพื่อนช่วยเพื่อน ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามความสามารถของตนเอง ในขณะเดียวกัน นักเรียนสามารถปรึกษาหารือกันในกลุ่มที่เรียนด้วยกัน ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันระหว่างเรียนและระหว่างปฏิบัติกิจกรรม และนักเรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเองตามศักยภาพของตนเอง เพราะเป็นหนังสือที่สามารถใช้เรียนเป็นรายบุคคลได้ และครูผู้จัดการเรียนรู้จะทำหน้าที่เป็นเพียงครูพี่เลี้ยงที่จะให้ข้อเสนอแนะในบางครั้งที่นักเรียนมีปัญหาเท่านั้น นอกนั้น นักเรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติจริงทั้งสิ้น
3. การจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว(การเกษตร) กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี จะเน้นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ กล่าวคือ หลังจากเรียนรู้หลักการทางทฤษฎี ทั้งเนื้อหาและวิธีการ โดยดูผลงานที่มีคนทำสำเร็จมาแล้วจากอินเตอร์เน็ตบ้าง จากการอ่านการเขียนรายงานบ้าง แล้วทำให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงได้ โดยมีหนังสืออ่านประกอบเป็นคู่มือ มีขั้นตอนการลงมือปฏิบัติที่ชัดเจน นอกจากจะได้ฟังการอธิบายและดูการสาธิตจากครู ควบคู่กับการปฏิบัติงานจริงซึ่งเป็นลักษณะการเรียนที่นักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเดี่ยวหรือกิจกรรมกลุ่ม
สอดคล้องกับจิตวิทยาการเรียนรู้ จิตวิทยาการพัฒนาการของพรรณี ชูทัย เจนจิต(2546) ที่ว่า จิตวิทยาการเรียนรู้นั้น จะช่วยให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายโดยอาศัยการกระตุ้น การโต้ตอบ การใช้กระบวนการกลุ่ม การสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นในเด็กวัยเดียวกัน(6-12 ปี) มีการพัฒนาการในการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนทั้งที่เป็นเพศเดียวกันและเพื่อนต่างเพศ โดยเริ่มที่จะเติบโตเป็นพลเมืองดี โดยหาทักษะในการใช้ภาษา การสื่อความหมาย การหาความรู้ ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ รู้จักพัฒนาตนเองให้มีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและสังคม การจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนในวัยนี้ได้ทำงานร่วมกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา และการคิกหาเหตุผลซึงจะส่งผลให้ผู้เรียนสามารถบรรลุเป้าหมายในการเรียนได้ และยังสอดคล้องกับทิศนา แขมมณี(2550) ได้สรุปทฤษฎีการเรียนรู้และหลักการจัดการศึกษา / การสอนของ กาเย่ 9 ขั้นว่า ระบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้นั้น จะต้องมีการนำเข้าสู่บทเรียน การแจ้งจุดประสงค์ การกระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิม(พื้นความรู้) ที่จำเป็น การเสนอบทเรียนใหม่ การใช้แนวทางการเรียนรู้ การลงมือปฏิบัติ การใช้ข้อมูลย้อนกลับ การประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ การส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้ จะช่วยให้การจัดการเรียนการสอนของครูให้ประสบผงสำเร็จ สามารถทำให้นักเรียนสามารถบรรลุถึงเป้าหมายได้
สอดคล้องกับทวีสิทธิ จำปาเทศ ได้พัฒนาหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นเรื่อง การเลี้ยงกบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านจรวยอำเภอลำดวน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 ที่พัฒนาหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นหลักสูตร ที่สถานศึกษา ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ร่วมกันพัฒนาขึ้นเพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้นำไปใช้ในชีวิตจริง สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและชุมชน การจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องจัดเนื้อหาสาระ และกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน มีการฝึกปฏิบัติจากประสบการณ์จริง เน้นทักษะกระบวนการทำงานให้คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น โดยมีการบูรณาการสาระความรู้ด้านต่าง ๆ ให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ทักษะกระบวนการ และคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ การศึกษาค้นคว้าในครั้งจึงนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) เรื่อง การเลี้ยงกบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (2) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) เรื่อง การเลี้ยงกบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 / 80 (3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) เรื่อง การเลี้ยงกบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (4) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน จากการใช้แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี(งานเกษตร) เรื่อง การเลี้ยงกบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า “1. หลักสูตรที่พัฒนาขึ้น ด้านจุดมุ่งหมายของหลักสูตร โครงสร้างและเนื้อหา โครงสร้างเวลาเรียน กระบวนการจัดการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ และการวัดผลประเมินผล มีความ เหมาะสมอยูในระดับมาก 2. แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร)มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.73 / 82.25 และมีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.8230 และ 3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี(งานเกษตร) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


ผลสัมฤทธิ์หลังการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้จากหนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ
เมื่อเปรียบเทียบหลังเรียนและก่อนเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้จากหนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ แต่ละเล่ม พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนทุกเล่ม ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะ การเรียนรู้แต่ละเล่มมีการแบ่งเนื้อหาที่พอเหมาะ ไม่มากและน้อยเกินไป และเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน นัดเรียนสามารถเรียนรู้ไปทีละเล่ม แบบไม่รู้จักเบื่อ มีการเรียนรู้ไปตามขั้นตอนที่ครูกำหนดไว้ชัดเจน หนังสือแต่ละเล่มเป็นลักษณะของการซึมซับความรู้ไปทีละน้อยอย่างต่อเนื่อง นักเรียนจะรับรู้สิ่งใหม่ ๆ และได้ประโยชน์โดยตรง ทำให้นักเรียนเกิดทักษะและความคิดรวบยอดในเรื่องที่ได้เรียนอย่างถาวรโดยไม่รู้ตัว ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ เพียรจิต พันธุ์โอภาส (2541 : บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาสร้างแผนการสอนที่มีประสิทธิภาพ กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต เรื่อง น้ำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผลการศึกษาพบว่าแผนการสอนมีประสิทธิภาพ 83.23 /86.21 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยการใช้หนังสืออ่านประกอบ เรื่อง การเลี้ยงกบ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว (งานเกษตร) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยภาพรวมอยู่ในระดับ เห็นด้วยมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.90 โดยเฉพาะด้านสื่อการสอน ได้แก่ นักเรียนชอบวิธีการเรียนรู้ด้วยแบบลงมือปฏิบัติจริง นักเรียนมีความสุขกับการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านประกอบแบบลงมือปฏิบัติจริง และนักเรียนต้องการเรียนรู้ด้วยแบบลงมือปฏิบัติจริงกับวิชาอื่น นักเรียนมีความคิดเห็นด้วยมากที่สุดทุกข้อนั้น เป็นผลการศึกษาที่บรรลุผลตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ทั้งนี้อาจเป็นผลเนื่องมาจากสาเหตุ ดังนี้
1. มีการใช้สื่อที่เป็นของจริงที่นักเรียนสามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ง่าย ทำให้นักเรียนมีความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนรู้ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว(งานเกษตร) เพราะเมื่อลงมือปฏิบัติจริงจะพบว่า เป็นการลงมือทำจริง กับสื่อที่เป็นของจริง เมื่อลงมือปฏิบัติเสร็จแล้วสามารถเห็นความสำเร็จในแต่ละขั้นตอนทันที และสามารถรอคอยผลสำเร็จในขั้นต่อไปด้วย เพราะครูคอยชี้แนะข้อบกพร่องต่าง ๆ และชมเชยเมื่อทุกคนปฏิบัติได้ถูกต้องซึ่งเป็นการเสริมแรงให้นักเรียนมีความต้องการที่จะเรียนมากยิ่งขึ้น เป็นการกระตุ้นและท้าทายความสามารถของนักเรียน ทำให้นักเรียนเกิดความเชื่อมั่นในตัวเองและเพื่อนร่วมกิจกรรม รวมทั้ง มีความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนรู้กลุ่มสาระงานอาชีพและเทคโนโลยี
2. หนังสืออ่านประกอบมีการจัดการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลายวิธี และมีสื่อประกอบอย่างหลากหลายชนิดด้วย เพียงครูชี้แนะหลักการและวิธีการเท่านั้น นักเรียนสามารถลงมือปฏิบัติจริงได้อย่างสนุกสนาน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ท้าทายความสามารถของเด็กนักเรียน ทำให้บรรยากาศของการเรียนเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอโดยเห็นพัฒนาการเจริญเติบโตของกบเป็นแรงกระตุ้น ทำให้นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจกับผลงานของตนเอง
สอดคล้องกับงานวิจัยของนางสันทยา พูลสำราญ ได้ทำวิจัยเรื่อง “การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การเลี้ยงกบขวด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2551” จากการศึกษาพบว่า 1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง “การเลี้ยงกบขวด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร)” มีประสิทธิภาพ 82.48/86.33 ซึ่งเป็นค่าประสิทธิภาพที่สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องการเลี้ยงกบขวด กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องการเลี้ยงกบขวด กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) โดยรวมและเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 2551
ข้อเสนอแนะ
จากการศึกษาการสร้างและการใช้หนังสืออ่านประกอบเรื่อง การเลี้ยงกบ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว(การเกษตร) กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหัวนา ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่ศึกษาเชียงใหม่เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ได้พบจุดเด่นและจุดที่ควรศึกษาเพิ่มเติมบางประการ และผู้รายงานจะนำเสนอเพิ่มเติมเพื่อเป็นประโยชน์ในการนำหนังสืออ่านประกอบไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและเพิ่มผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้นในครั้งต่อไป ดังนี้
1. ควรทำวิจัยเกี่ยวกับการสอนแบบนักเรียนเป็นศูนย์กลางให้มากขึ้น เช่น การสอนแบบประสาทสัมผัส การสอนแบบวิทยาศาสตร์ การสอนแบบการสืบค้น เป็นต้น
2. ควรทำวิจัย เกี่ยวกับสื่อที่เป็นของจริงและสามารถหาได้ในท้องถิ่นมาช่วยสอน เช่น การเลี้ยงกบคอนโด การเลี้ยงจิ้งหรีด เป็นต้น
3. ควรวิจัยการรักษาน้ำเพื่อการเกษตร เช่น ฝายน้ำน้อย ๆ บ่อน้ำหมุนเวียน หรือ วิธีการเก็บน้ำฝนไว้ใช้ในหน้าแล้ง เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น